กลับมาแย้ว

หลังจากที่ห่างหายไปนาน วันนี้กลับมาแล้ว ยินดีต้อนรับสมาชิกชุมนุม social media ทั้ง 5 ชีวิตคะ
สุจิตรา ใจขาน 6/1
วิรดา ศรีนันทา 6/1
ธิติไกร ศรีกุศล 6/1
พรพิมล พรหมโคตร 6/1
คมสันต์ เพียช่อ 5/2
นักเรียนตั้งใจทำ blog นะจ๊ะ สู้ๆ

Advertisement

สืบ นาคะเสถียร

สืบ นาคะเสถียร หรือนามเดิมชื่อ “สืบยศ” เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชาย และน้องสาวอีก ๒ คนคือ คุณกอบกิจ นาคะเสถียร และคุณกัลยา รักษาสิริกุล สืบมีบุตรสาว ๑ คน ชื่อ ชินรัตน์ นาคะเสถียร บุคลิกประจำตัวของ สืบ นาคะเสถียร คือเมื่อเขาสนใจ หรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด

โดยที่สายตระกูลของ สืบ นาคะเสถียร เป็นครอบครัวชาวนา ชีวิตในช่วงปฐมวัยจึงต้องช่วยทำงานในนาของมารดา เมื่อว่างจากภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อนๆ โดยมีไม้ง่ามหนังสติ๊กคู่ใจ ได้เข้าเรียนชั้น ประถมตอนต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัด ปราจีนบุรี ช่วงปิดเทอมว่างจากการเรียน ก็ออกไปช่วยทางบ้าน ยกเสริมแนวคันนาเอง เพื่อไม่ให้มีข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวัน แม้แดดจะร้อนก็มิเคยปริปากบ่น ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕

สืบ นาคะเสถียร เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบเป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ. ๒๕๑๔ จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๖ สืบเข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ

สืบ นาคะเสถียร ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขา วนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จนสำเร็จการศึกษา และในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ ซึ่งขณะนั้น กองอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินใจเลือกกองนี้ เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้ สืบต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน สืบทำงาน อยู่ ๓ – ๔ ปี

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขา อนุรักษ์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ. ๒๕๒๔ กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการ และประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๒๖ สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว ในระยะนี้ เป็นจังหวะที่ สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่ สืบทำได้ดี และมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้น ที่เขาได้ผูกพันกับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่ง และการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา

สืบ นาคะเสถียร ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าว สืบเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแสการทำลายป่า และสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณีรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่

สืบ นาคะเสถียร ได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๒ สืบได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อมๆ กับได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ

เช้ามืดวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา ๖ ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ

สืบ นาคะเสถียร ๑ กันยายน ๒๕๓๓
ชำระสะสางภาระหน้าที่รับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมายเครื่องใช้ และ อุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว

เช้าตรู่เริ่มต้นตำนานแห่งนักอนุรักษ์ สืบ นาคะเสถียร
นักอนุรักษ์ไทย ผู้ที่รักป่าไม้และธรรมชาติด้วยกาย วาจา และใจ

อ้างอิง

http://www.youtube.com/

http://www.lib.ru.ac.th/journal/sep/sep01-NakasatienDay.html

การสืบพันธ์ของพืชดอก

ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช

1.เหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์พืชล้มลุกและพืชที่มีอายุสั้น เช่น ข้าว ผัก และไม้ดอกต่าง ๆ

2.ใช้ได้ดีกับพืชที่มีการผสมตัวเอง พืชพวกนี้แม้จะใช้เมล็ดเพาะ ต้นใหม่ก็จะไม่กลายพันธุ์ เช่น ข้าว  ถั่ว

3.ใช้สำหรับปลูกพืชที่มีระบบรากแก้วที่แข็งแร็งและมีอายุยืน เช่น การปลูกสวนป่า  การปลูกต้นไม้ริมทาง

4.ใช้ในการผสมพันธุ์โดยตรง คือการรวมลักษณะที่ดีของพืช 2 ต้น ไว้ในต้นเดียวกัน ทำได้โดยเขี่ยละอองเรณูของต้นหนึ่งไปใส่บนยอดเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง รอให้ดอกที่ได้รับการผสมติดผลจนแก่แล้วจึงนำเมล็ดไปเพาะ  เมล็ดที่ได้นี้จะเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

 

ข้อเสียของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

1.หากเป็นพืชพวกที่มีการผสมข้าม เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ มักจะได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะไม่ตรงกับต้นพ่อหรือต้นแม่  เนื่องมาจากต้นใหม่ได้รับลักษณะจากต้นพ่อและต้นแม่รวมกัน สังเกตได้จากการเพาะเมล็ดมะม่วง ต้นใหม่ที่ได้อาจมีรสชาติของผลต่างไปจากต้นเดิม

2.ต้นไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะติดผล เมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น

 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก

        สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะสืบพันธุ์เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ พืชก็เช่นเดียวกันการสืบพันธุของพืชมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

        การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งเกิดขึ้นในดอก ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก  

 โครงสร้างของดอก

 

ชนิดของดอก

       ถ้าพิจารณาส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์  จะแบ่งชนิดของดอกไม้ได้  2  ชนิด 

1.  ดอกครบส่วน  หมายถึง  ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง  4  วง  คือ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน  เช่น ดอกแพงพวย  ดอกบัว  ดอกผักบุ้ง  ดอกกุหลาบ  ดอกชบา ดอกพู่ระหง  และดอกมะเขือ  ดอกต้อยติ่ง

2.  ดอกไม่ครบส่วน  หมายถึง  ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง  4  วงในดอกเดียวกัน เช่น   ดอกจำปา ไม่มีกลีบเลี้ยง   ดอกตำลึงไม่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย   ดอกข้าวโพด  ดอกมะละกอ    ดอกฟักทอง ดอกแตงกวา  และดอกบวบ

      ถ้าพิจารณาเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์  จะแบ่งชนิดของดอกไม้ได้  2  ชนิด

1.  ดอกสมบูรณ์เพศ  หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกมะเขือ  ดอกชบา  ดอกข้าว  ดอกต้อยติ่ง  ดอกมะม่วง  ดอกบัว  ดอกชงโค  ดอกอัญชัน  ดอกถั่ว  ดอกกุหลาบ

2.  ดอกไม่สมบูรณ์เพศ  หมายถึงดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดอกข้าวโพด ดอกตำลึง  ดอกฟักทอง  ดอกมะละกอ  และดอกบวบ

                ดอกของพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนดอกบนก้านดอกไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งดอกออกเป็น 2 ประเภท คือดอกเดียว (solotary flower) และช่อดอก (inflorescences flower)

                ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอกบนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น ดอกมะเขือเปราะ จำปี บัว เป็นต้น

                ช่อดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ ข้าว เป็นต้น แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลาย นักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะการจัดเรียงตัวและการแตกกิ่งก้านของช่อดอกจำแนกช่อดอกออกเป็นแบบต่างๆ

                ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อยดอกย่อยเรียงกันอยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้นช่อดอกแบบนี้ประกอบด้วยดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยู่รอบนอกของดอก และดอกวงในอยู่ตรงกลางดอกดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมียส่วนดอกวงในมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอกอยู่เหนือรังไข่

ข้อมูลจาก http://learners.in.th/blog/my-new/324557

โครงสร้างที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์

 โพรทิสต์  ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ  ผิวของสิ่งมีชีวิตพวกนี้สัมผัสกับน้ำโดยตรงจึงเกิดการแพร่ (diffusion) โดย O2 แพร่ผ่านผนังเซลล์หรือเยื่อหุ้มเซลล์และ CO2 แพร่ออกจากผนังเซลล์ได้แก่ อมีบา  พารามีเซียม

พลานาเรีย  แลกเปลี่ยนแก๊สทางผิวหนัง  ผิวหนังจึงเปียกชื้นอยู่เสมอ    การที่พลานาเลียมีลำตัวแบนเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิว  ทำให้มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนแก๊ส

ไส้เดือน  มีลำตัวกลม  แลกเปลี่ยนแก๊สทางผิวหนังซี่งเปียกชื้น  มีระบบหมุนเวียนเลือดช่วยในการแพร่ทำให้ลำเลียงรวดเร็วขึ้น  

ไส้เดือน ดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินไม่มีอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการหายใจ แต่จะมีการแลกเปลี่ยนกาซผ่านทางผิวหนังโดยไส้เดือนดินจะขับเมือกและของเหลว ที่ออกมาจากรูขับถ่ายของเสียเพื่อเป็นตัวทำละลายออกซิเจนจากอากาศแล้วซึม ผ่านผิวตัวเข้าไปในหลอดเลือดแล้ว ละลายอยู่ใน น้ำเลือดต่อไป

ปลา  แลกเปลี่ยนแก๊สที่เหงือกเท่านั้น  เส้นเหงือกมีผิวยาวมากจนแก๊สสามารถแพร่ผ่านเข้าไปได้สะดวกแม้ว่าในน้ำจะมี O2 อยู่น้อยมากคือประมาณร้อยละ 0.5 โดยปริมาตรเท่านั้น  แต่ปลาก็สามารถรับ O2  ได้เพียงพอแก่ความต้องการได้ในขณะที่ปลากำลังว่ายน้ำหรือลอยตัวอยู่นิ่งแผ่นกระดูกปิดเหงือกหรือแผ่นแก้มของปลาจะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  โดยการเคลื่อนไหวจะเป็นจังหวะพอดีกับการอ้าปากและหุบปากของปลาด้วยอาการที่สัมพันธ์กันเช่นนี้  จึงทำให้น้ำซี่งมี O2 ละลายอยู่เข้าทางปากแล้วผ่านออกทางเหงือกตลอดเวลา
        การที่เหงือกปลามีเส้นเหงือกเล็กๆ (gill filament) จำนวนมากเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวที่จะสัมผัสกับ O2 ในน้ำ

 
       ความใกล้ชิดระหว่างเนื้อเยื่อบางๆของเหงือกกับเส้นเลือดทำให้ O2 แพร่จากน้ำเข้าสู่เส้นเลือดได้โดยง่าย

5. แมลง  จะมีท่อลม (Trachea) เป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส  ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อ  มีรูเปิดออกสู่ภายนอกเรียกว่า สไปเรเคิล ท่อลมจะมีการแตกแขนงเป็นท่อเล็กลงทุกที่จนกลายเป็นหลอดที่มีหนังบางมากแทรกไปตามเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย

สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ดำรงชีวิตบนบก  มีปอดเป็นอวัยวะสำคัญสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สกับบรรยากาศ  อากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกายทางรูจมูกผ่านหลอดลมเข้าคอสู่ปอด  ในปอดหลอดลมจะแตกแขนงเส้นเล็กลงเรื่อยๆ ปลายแขนงเล็กๆเหล่านี้ติดกับถุงลมซี่งมีอยู่จำนวนมาก  ถุงลมเหล่านี้มีผนังบางและมีจำนวนมากเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สอย่างมากมายให้แก่ปอด  รอบๆถุงลมมีเส้นเลือดฝอยเป็นจำนวนมากมาลำเลียงแก๊ส O2 ไปให้เซลล์ทั่วร่างกาย  จะเห็นว่าการทำงานของปอดเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สกับระบบลำเลียงสาร
        นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีปอดเจริญดีมาก  อัตราส่วนของนอกพื้นที่ผิวของปอดต่อปริมาตรของร่างกายสูง  เพราะจะต้องใช้พลังงานจากเมแทบอลิซึมสูง  โดยเฉพาะนกส่วนใหญ่จะมีกิจกรรมการบินสูงซึ่งต้องใช้พลังงานมากเพื่อสร้างแรงลอยตัว  กล้ามเนื้อปีกจะเป็นส่วนที่จะต้องทำงานหนักที่สุด  นกมีถุงลมพิเศษยื่นออกมาจากปอดเป็นคู่ๆหลายคู่  โดยถุงลมจะแทรกอยู่ในช่องว่างของลำตัวและบางถุงแทรกเข้าไปในกระดูกที่กลวงของนกเช่นกระดูกปีก  ถุงพิเศษนี้ทำหน้าที่สำรองอากาศใช้ให้กับนกในขณะที่บินซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนแก๊สของนกนั่นเอง

เนื้อเยื่อพืช

เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตำแหน่งที่อยู่  ถ้าจำแนกตามความสามารถในการแบ่งเซล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น  2 ประเภท คือ

1. เนื้อเยื่อ เจริญ (Meristem tissue)

2. เนื้อเยื่อถาวร (Permament tissue)

เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)

เนื้อเยื่อเจริญเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน
ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น 3 ประเภท ตามตำแหน่ง
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา

เนื้อเยื่อปลายยอด

เนื้อเยื่อปลายราก

ที่มารูปภาพ : www.nana-bio.com/e-learning/Meristem.htm

2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem) : จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
1) วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
2) คอร์ก แคมเบียม  : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส

วาสคิวลาร์แคมเบียม                                                                            คอร์ก แคมเบียม

ที่มารูปภาพ:www.nsci.plu.edu/…/b359web/pages/meristem.htm         ที่มารูปภาพ:kruwasana.info/M_tissue.html

3.เนื้อเยื่อเจริญ เหนือข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง

เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ

ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/49583

เนื้อเยื่อถาวร

เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมากมักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจำแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จำแนกออกเป็นหลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง

เนื้อเยื่อถาวร เชิงเดี่ยว

Epidermis เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช (ถ้าเปรียบกับตัวเรา ก็คือ หนังกำพร้านั่นเอง) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมด
หน้าที่ของ epidermis
– ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย
– ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้ำ (เพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้ำไม่ ให้ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไป จะเน่าได้ )
– ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ
– ช่วยดูดน้ำและเกลือแร่

epidermis คือบริเวณกลมๆใสๆด้านบน

ที่มารูปภาพ:http://www.se-society.com/forum/viewtopic.php?p=121315& amp;sid=a3522cf5f701f279af668fb84e600eba

Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และพบมากที่สุดในพืชโดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและลำต้น
Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ
หน้าที่ Parenchyma
– ช่วยสังเคราะห์แสง
– สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้ำ
– สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
– บางส่วนช่วยทำหน้าที่หายใจ

เนื้อเยื่อพาเรงคิมา

ที่มารูปภาพ:http://www.psuwit.psu.ac.th/e-learning/data/cai/biology /Chapter5/Picture_Chapter5/5.7.jpg

Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมากเล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง
หน้าที่ของ Collenchyma
– ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้
– ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย

Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช
Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ

1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสองเสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทำจากลำต้นหรือใบของพืช ต่าง ๆ
หน้าที่ของ Fiber
– ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
– ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่

2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง
หน้าที่ของ Stone cell
– ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก)

Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลำต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น
เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว
ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทำจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกำลังจะร่วง และแผลเป็นตามลำต้น
หน้าที่ของคอร์ก
– ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก

เนื้อ เยื่อถาวรเชิงซ้อน

Xylem
Xylem เป็น complex tissue ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำอนินทรีย สารและวัตถุดิบเป็นสารละลาย รวมทั้งแร่ธาตุ ๆ จากรากขึ้นข้างบนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช การลำเลียงแบบนี้เรียกว่า Coonduction
นอกจากนี้แล้ว ไซเลม ยังมีหน้าที่ช่วยค้ำจุนเสริมความแข็งแรงให้แก่ส่วนต่าง ๆ ของพืชอีกด้วย

Tracheid
Tracheid เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ ยาว ๆ ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่แล้วจะตายไป และโพรโทพลาซึมจะสลายไป ทำให้ตรงกลางกลายเป็นช่องลูเมน ( lumen ) ใหญ่ เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกกลมหรือเหลี่ยมปลายทั้งสองค่อนข้างแหลม
เทรคีด พบอยู่มากในพืชพวก เฟิร์น และสนภูเขา
หน้าที่ของเทรคีต ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและเกลือแร่ ซึ่งจะลำเลียงไปทางข้าง ๆ และจะ ลำเลียงได้ดีเมื่อเซลล์ตายแล้ว นอกจากนี้เทรคีตยังช่วยค้ำจุนส่วนต่าง ๆ ของพืชอีกด้วย เพราะมีผนังที่แข็ง

Vessel member
เวสเซลล์ เมมเมอร์ เป็นเซลล์เดี่ยวๆ ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่แล้วจะตายไปและ โพรโทพลาซึมตรงกลางสลายไปกลายเป็น ช่องลูเมนใหญ่ เวสเซลล์ เมมเมอร์หลายๆ เซลล์เมื่อมาต่อกันเข้าเป็นท่อยาว และมีผนังกันห้องตามขวาง หรือ เอน วอลล์ (end wall) ขาดไป ก็จะกลายเป็นท่อกลางยาว
หน้าที่ของเวสเซลล์ เมมเมอร์ เป็นท่อลำเลียงน้ำ และเกลือแร่เช่นเดียวกับ เทรคีด แต่ส่วนใหญ่ลำเลียงขึ้นไปตรง ๆ ไม่ได้ช่วยทำหน้าที่ในการค้ำจุน

Xylem Parenchyma cell
เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เรียงตัวกันอยู่ในแนวตั้งตามความยาวของต้นไม้ มีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับ พาเรนไคมา ทั่ว ๆ ไป
หน้าที่ของ Xylem Parenchyma cell ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง น้ำมันอื่น ๆ และยังทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และเกลือแร่ได้ด้วย

Xylem Fiber
เป็น fiber เปลี่ยนแปลงมาจาก tracheid อีกทีหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ค้ำจุนช่วยเหลือ เวสเซลล์ เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว ๆ แต่ยังสั้นกว่าไฟเบอร์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป มีปลายเสี้ยม

Phloem
เป็น คอมเพล็ก ทิชชู ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร จำพวกอินทรียสาร ซึ่งพืชปรุงขึ้นหรือสังเคราะห์แสงได้จากใบและส่วนอื่น ๆ ที่มีคลอโรฟิลล์ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช การลำเลียงอาหารที่ปรุงขึ้นเองของโฟลเอ็มนี้เรียกว่า Translocation

Sieve Tube Member
เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างทรงกระบอกยาว ปลายทั้งสองเสี้ยม ประกอบขึ้นด้วยโพรโทพลาสซึม เมื่อเซลล์ได้รับอันตราย โพรโทพลาสซึมทั้งหมด จึงมักหดตัวอยู่ตรง
กลางเซลล์ ซีฟทิว เมมเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ หรือที่ยังอ่อนอยู่จะมีนิวเคลียสอยู่ด้วย แต่พอเจริญเต็มที่แล้ว นิวเคลียสก็สลายไป โดยที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่
หน้าที่ของซีฟทิว เมมเบอร์ เป็นหลอดหรือท่อสำหรับลำเลียงอาหารโดยตรง ดังนั้นจึงนับว่าเป็นเซลล์ที่สำคัญที่สุดของโฟลเอม

ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/49583

ระบบย่อยอาหาร

มีวิดิโอดีๆ เรื่องย่อยอาหารมาฝากนักเรียน ม.5 คะ เป็นการทบทวนที่เรียนไปแล้วคะ มีทั้งหมด 5 ตอน ขอให้นักเรียนสนุกสนานกับการทบทวนบทเรียนนะคะ

ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์

พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช

โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์
1. ผนังเซลล์ (cell wall) พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1665 โดยโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น น้ำ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรีย กรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน จึงเรียกเยื่อที่มีลักษณะแบบนี้ว่า เยื่อกึ่งซึมผ่านได้ (semipermeable membrane หรือ selective permeable membrane)
3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีน้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม (metabolism) ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้
4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากคลอโรพลาสต์ ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้นๆ อย่างมีระเบียบ ภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหารฃองพืช

โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของออร์แกเนลล์ต่างๆ
ระหว่างเซลล์ของพืชและสัตว์

ออร์แกเนลล์
โครงสร้าง
หน้าทีการทำงาน
1.Cell wall ประกอบด้วยเส้นใยเซลล์ลูโลส ปกป้องและค้ำจุน
2.Plasma membrane เป็นฟอสโฟลิพิดเรียงกัน 2 ชั้น และมีโปรตีนแทรก เป็นเยื่อเลือกผ่านของสารที่ผ่านเข้าออก
ระหว่างเซลล์
3.Nucleus ประกอบด้วยเยื่อหุ้มล้อมรอบนิวคลีโอ-
ปลาสซึม,โครมาตินและนิวคลีโอลัส
เป็นที่เก็บสารพันธุกรรม
4.Nucleolus เป็นบริเวณที่รวบรวมโครมาทิด, RNA,โปรตีน สร้างและสะสม RNA
5.Ribosome ประกอบด้วยหน่วยย่อยของโปรตีนและ RNA สังเคราะห์โปรตีน
6.Edoplasmic reticulum(ER) โครงสร้างที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ลักษณะเป็นท่อยาวแบน
สังเคราะห์หรือเสริมสร้างโปรตีนหรือ
สารอื่นๆขนส่งสาร
7.Rough ER เป็น ER ที่มีไรโบโชมเกาะอยู่ สังเคราะห์โปรตีน
8.smooth ER เป็น ER ที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น กำจัดสารพิษ
สร้างสารสเตรอยด์ ขนส่งไกโคเจน
9.Golgi body เป็นถุงแบนมีเยื่อหุ้ม เรียงซ้อนกันหลายอัน
ปลายของถุงมักพองออก
สังเคราะห์สารประกอบหลายชนิด เช่น
คาร์โบไฮเดรต ขับสารประกอบต่างๆ
10.Vacuole and vesicle เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้ม เก็บสะสมสารต่างๆสะสมน้ำเรียกcontractile vacule สะสมอาหารเรียก foodvacule
11.Lysosome เป็นถุงที่ทีเยื่อหุ้มภายในมี enzyme ย่อยสลายองค์ประกอบภายในเซลล์
12.Microbody เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มภายในมีเอนไซน์เฉพาะ ่นำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของเซลล์
13.Mitocondria เป็นก้อนกลมหรือรี มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้นเยื่อหุ้มชั้นในเรียก cristae แหล่งผลิตพลังงาน,การหายใจระดับเซลล์
14.Chloroplas*
(พบเฉพาะในเซลล์พืช)
เป็นก้อนกลม รี เยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อชั้นในเรียก grana การสังเคราะห์แสง
15.Cytoskeleton ไมโครทิวบูล เป็นเส้นยาวไม่แตกแขนง
มโปรตีนทูบิลินเป็นหน่วยย่อย
ทำให้เซลล์คงรูปร่าง ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์
16.Cilia and Flagella แท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันในรูปแบบ 9+2 ช่วยในการเคลื่อที่ของเซลล์
17.Centriole เป็นแท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันแบบ 9+0 สร้างสายสปินเดิลในการแบ่งเซลล์หรือเป็นส่วน
ฐานของซิเลียและแฟลเจลลา

…………………..

สรุปความแตกต่างเซลล์พืชเซลล์สัตว์

สวัสดีคะนักเรียน ก่อนอื่นก็ขอขอบใจนักเรียนสำหรับความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนทุกคนน่ารักมาก  จากคำตอบของนักเรียน ครูนำมาสรุปเป็นตาราง เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นนะคะ

ความแตกต่างเซลล์พืชและเซลล์ สัตว์
เซลล์ พืช เซลล์ สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม 1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก 2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล 4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม 6. มีไลโซโซม

โครงสร้างของเซลล์

ให้น ักเรียนศึกษาภาพ โครงสร้างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ แล้วบอกข้อแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ คะ

เซลล์พืช

เซลล์สัตว์

เซลล์และทฤษฎีเซลล์

ร่างกายของคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ และอวัยวะดังกล่าวเกิดจากเนื้อเยื่อ (tissue) ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ลงไปอีกหน่วยย่อยนี้เรียกว่า เซลล์ จึงกล่าวได้ว่า เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด

เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ถ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นมีกำลังขยายสูงก็จะพบรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการ สังเกตมากขึ้น เซลล์สิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน

สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษาได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป

เมื่อ ประมาณ พ.ศ.2381 มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias Schleiden)
นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบว่า พืชทั้งหลายต่างเป็นสิ่งมีชีวิตทีมี
หลายเซลล์ และในปีถัดมา พ.ศ.2382 เทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann)
นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ประกาศว่าสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน จึงได้ร่วมกันตั้ง ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์นั้นคือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิด
ดูภาพขนาดใหญ่
มัตทิอัส  ชไลเดน
ดูภาพขนาดใหญ่
เทโอดอร์  ชวันน์
ทฤษฎี เซลล์ในปัจจุบันครอบคุมถึงใจความที่สำคัญ  3  ประการ คือ

1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ซึ่งภายในมีสาร
พันธุกรรมและกระบวนการเมทาบอลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้
2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กทีสุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงาน
ภายในโครงสร้างของเซลล์
3. เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแงตัวของเซลล์เดิม แม้ว่า
ชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มี ชีวิต แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้น
ของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

จึงเป็นที่น่าสงสัยว่านอกจากโครง สร้างที่พบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ในเซลล์ยังมีโครงสร้าง
อื่น ๆ อีกหรือไม่ และโครงสร้างเหล่านี้ช่วยในการดำรงชีวิตของเซลล์อย่างไร

ที่มา :